มารู้จักส่วนประกอบในชื่อเพลงคลาสสิกกัน!
เพลงคลาสสิกส่วนมากมักมีชื่อยาวๆ
และไม่ค่อยยอมตั้งชื่อเฉพาะกันซะอีก
มีแต่ตัวเลขกับอักษรแปลกๆ ทั้งนั้น
มือใหม่เห็นแล้วก็หมดกำลังใจไปเลย
ที่จริงแล้วชื่อยาวๆ นี้สวยงามนะครับ
เพราะบอกรายละเอียดไว้ได้เยอะมาก
ชื่อเพลงคลาสสิกจะแบ่งส่วนได้ดังนี้
-
ชื่อผู้แต่งเพลง
อันนี้คงไม่ต้องอธิบายนะครับ ^^…ซักหน่อยเหรอ อึ่ม… อะไรดีหละ?
งั้นเอาคนดังๆ ฟังง่ายๆ ไปละกันครับ
โมสาร์ท - คนนี้ผมไม่ค่อยได้ฟังบ่อย
เพราะแนวเพลงของพี่ท่านร่าเริงเกิน
เบโทเฟน - เพลงของเฮียมีพลังมาก
วิวัลดี - ถ้าตามมาจากหนังซีซันเชงค์
ก็ฟังเพลงสีฤดูของนักบวชคนนี้เลยอ๋อ… บางครั้งส่วนนี้ก็อยู่ท้ายสุดครับ
-
ชนิดของการเล่น
เพลงคลาสสิกนั้น ไม่ได้มีแต่วงใหญ่
หรือที่เรียก ซิมโฟนี เพียงอย่างเดียว
แต่เพลงเดี่ยวเครื่องดนตรีก็มีครับ
เรียกงานเพลงแนวนี้ว่า โซนาตาส่วน คอนแชร์โต คือมีวงออร์เคสตรา
กับเครื่องดนตรีเล่นประชันกันอยู่
และ โอเปรา จะมีนักร้องด้วยครับเอาไปแค่ 4 อย่างก่อนละกันครับ
มากกว่านี้เดี๋ยวจะเอียนเอาได้
(จะเจาะลึกให้ในครั้งหน้าครับ) -
ลำดับที่ของเพลง
ส่วนมากบอกเป็นหมายเลข (No.)
ก็คือ เป็นเพลงที่เท่าไหร่ในชนิดนั้น
เช่น piano sonata no.14 ก็คือ
เพลงที่ 14 ที่เป็นเดี่ยวเปียนโนบางครั้งบอกเป็นโอปุส (Op.)
คือ ลำดับเพลงตามที่พิมพ์ออกมา
เช่น violin concerto op.67 คือ
เพลงนี้เป็นเพลงที่ 67 ที่พิมพ์ -
บันไดเสียง
บอกว่าเพลงนั้นอยู่ในบันไดเสียงใด
ซึ่งบอกอารมณ์เพลงได้นิดหน่อย
คือถ้าเป็น major ก็จะสดใส ยิ่งใหญ่
ส่วน minor จะเหงา เศร้า หดหู่ตรงนี้บอกแค่แนวที่น่าจะเป็นเท่านั้น
ที่เหลือต้องไปตีความในเพลงครับ
เพราะบางครั้งอารมณ์ก็ไม่เป็นตามนั้น -
ท่อนที่เล่น
เป็นการบอกท่อนที่เล่นและความเร็ว
เช่น เพลงที่เป็นโซนาตา จะมี 3 ท่อน
ตามปรกติจะเป็น เร็ว-ช้า-เร็ว ครับ
ซึ่งจะเขียนบอกด้วยภาษาอิตาเลียน
อาจจะจำยาก แต่ถ้าชินก็ไม่มีปัญหาเอาคำที่เห็นบ่อยๆ ไปก่อนนะครับ
เพรสโต Presto - เร็วมาก
อเลโกร Allegro - รวดเร็ว สดใส
อดันเต Andante - ช้ากลางๆ
ลาโก Largo - ช้าเนิบๆ
5 ข้อนี้คือชื่อที่ใช้ในสื่อทางอักษร
เมื่อต้องการพูดถึงเนื้อหาของเพลง
แต่ถ้าเป็นสื่อทางเสียง ก็ต้องดูชนิด
โดยถ้าเป็นเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรี
ก็จะมีชื่อของผู้เล่นเครื่องดนตรีนั้น
ถ้าเป็นเพลงที่เล่นโดยวงดนตรีเล็กๆ
ก็จะมีชื่อวง และอาจมีชื่อนักดนตรี
ถ้าเป็นวงใหญ่ๆ นักดนตรีเป็นร้อย
(ที่จริงไม่ต้องถึงร้อยก็ได้ครับ ^^”)
ก็จะมีชื่อผู้อำนวยการเพลง ชื่อวง
และชื่อหัวหน้าวง/นักโซโล/นักร้องนำ
และที่ลืมไม่ได้ ก็คือเวลาที่ใช้เล่นเพลง
เพราะจากข้อ 5 แม้จะมีการกำกับไว้
แต่เพราะมันเป็นการกำกับที่ไม่สมบูรณ์
นักดนตรี/ผู้อำนวยการเพลงแต่ละคน
ก็ตีความหมายของเพลงแตกต่างกันไป
เราสามารถรู้อารมณ์ได้อีกหน่อยนึง
แม้จะยังไม่ได้เปิดฟังเพลงนั้นก็ตาม
(ถ้าอ่านโน้ตออก/เคยฟังเวอร์ชันอื่น)
แนะนำสำหรับคนที่จะซื้อแผ่นหน่อย
ถ้าท่านไม่เห็นชื่อวง/ผู้เล่นบนแผ่น
แล้วไม่อยากฟังเสียงสังเคราะห์
อย่าซื้อครับ เพราะผมโดนมาแล้ว
เอา .mid ที่คอมเล่นมาอัดเลยครับ
แบบนี้หาโหลดเองในเน็ตก็ได้… T-T
หมดแล้วครับสำหรับคำแนะนำที่มีให้
ที่เหลือก็ต้องลองไปฟังกันเองครับ
เหมือนดังสุภาษิตจีนที่ว่า
“อ่านหนังสือหมื่นเล่ม ไม่เท่าเดินทางหนึ่งลี้”
ขอให้มีความสุขกับการฟังเพลงครับ
author