Opensource ไม่ใช่ของฟรี, คนทำไม่ได้อิ่มทิพย์
เรื่องหนึ่งที่เข้าใจผิดๆ กันมากเกี่ยวกับวงการไอที คือความคิดที่ว่า opensource คือของฟรี การนำ opensource มาใช้งานมีค่าใช้จ่ายเป็นศูนย์
อันที่จริงก็มีหลายคนเขียนถึงเรื่องนี้ไว้หลายครั้งแล้ว เช่นทวีตนี้
opensource ในไทยฉิบหายก็เพราะใครไม่รู้บอกว่า opensource ฟรี opensource ช่วยประหยัด โน่นนั่นนี่ กรูไม่ได้อิ่มทิพย์!!!
— sugree (@sugree) June 7, 2010
หรือในกระทู้นี้และกระทู้นี้ด้วย (ฯลฯ ที่ผมไม่สามารถหาเจอได้แล้ว) ซึ่งตอนนั้นผมเองอ่านบทความเหล่านั้นก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ จนกระทั่งมาได้ทำงานกับ opensource จริงจัง
โปรเจค opensource อาจกำเนิดขึ้นมาจากงานง่ายๆ ที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง ในตอนแรกผู้ใช้เครื่องมือ opensource ชิ้นนั้นคงมีแค่เพียงทีมผู้สร้างไม่กี่คน แต่เมื่อเครื่องมือ opensource ชิ้นนั้นเริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีคนให้ความสนใจศึกษาใช้งานมัน โปรเจค opensource ชิ้นนั้นก็จะได้รับการปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ จนติดลมบนไป
เช่นกันสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มงานบางอย่างที่ได้รับจากผู้ว่าจ้าง การเริ่มจากศูนย์นั้นยากและเสี่ยงเกินไป การดึงเครื่องมือ opensource มาช่วยงานคือสิ่งที่ควรทำ แน่นอนว่าการใช้งานเครื่องมือเหล่านั้น ย่อมพบเจอปัญหาไม่ต่างจากการเขียนโค้ดเองทั้งหมด การส่ง patch กลับไปยังต้นน้ำจะเป็นการช่วยพัฒนา opensource ให้แข็งแกร่งขึ้น
จาก 2 เคสที่ยกมานี้ จะเห็นว่าตัว opensource ไม่ได้จ่ายเงินให้นักพัฒนาเลย แต่เป็นผู้ว่าจ้างนั่นเองที่จ่ายเงินให้นักพัฒนาโดยตรง และโปรเจค opensource ก็โตได้เพราะเงินในส่วนนี้
ใช่ครับ opensource ไม่ใช่ของฟรี และคนทำก็ไม่ได้อิ่มทิพย์!!
author