พฤติกรรมเลียนแบบ
พฤติกรรมเลียนแบบน่าจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าอกเข้าใจผู้อื่น?
(pure speculation / สันนิษฐานล้วนๆ ไม่มีหลักฐานเชิงวิทยาศาสตร์มายืนยัน)
เนื่องจากพฤติกรรมการเลียนแบบ เมื่อทำบ่อยครั้งเข้าก็น่าจะทำให้ผู้เลียนแบบสามารถเริ่มต้นการลอกเลียนได้เลยโดยที่ไม่ต้องรอให้เป้าหมายเป็นผู้เริ่มต้นการกระทำต่างๆ หมายความว่าผู้ลอกเลียนสามารถจดจำได้ว่าต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อการลอกเลียนนั้น
ในระยะสั้นนี่คงบอกได้แต่เรื่องความจำ แต่ระยะยาวแล้วหากยังเกิดการเลียนแบบขึ้นอยู่ ก็น่าจะบอกได้ว่าผู้เลียนแบบเข้าใจว่าพฤติกรรมตั้งต้นนั้นมีเหตุผลอะไร ทำไมถึงทำเช่นนั้น และน่าจะนำไปสู่ความเข้าอกเข้าใจ (empathy) ในที่สุด
ในเด็กเล็กที่อยู่ในช่วงเรียนรู้ด้วยการเลียนแบบ ถ้าเกิดโดนผู้ใหญ่ห้ามปรามอย่างรุนแรง เมื่อโตขึ้นก็อาจกลายเป็นปัญหาที่ไม่สามารถเข้าอกเข้าใจผู้อื่นได้ เพราะไม่สามารถเข้าใจถึงเหตุผลเบื้องลึกว่าทำไมผู้อื่นถึงกระทำเช่นนั้น
… คิดออกแค่นี้ ตอนแรกกะว่ารอตกผลึก/ค้นคว้าเพิ่มแล้วค่อยเขียนทีเดียว แต่กลัวลืม ถือว่าจดเป็นโน้ตส่วนตัวละกัน 😝
ป.ล. ย้ำอีกครั้งว่าเป็นแค่ speculation ใครเอาไปใช้อ้างอิงจริงจังจะโดนตี! 😈
Originally published on: Facebook
author