การเรียกตัวเองผ่านการปริพันธ์
ฟังก์ชันแฟกทอเรียลนั้นมีนิยามง่ายๆ ตรงไปตรงมา นั่นคือ ผลคูณของจำนวนเต็มบวกตั้งแต่ $1$ ไปจนถึง $n$
factorial n = product [1..n]
ซึ่งถ้าสังเกตดูซักหน่อย จะพบว่ามันสามารถเขียนนิยามเป็นการเรียกตัวเองได้
factorial 1 = 1
factorial n = n * factorial (n - 1)
ตอนนี้เราอาจเพิ่มนิยามที่ว่า $0! = 1$ เพื่อความสะดวกในการกระจายพจน์สำหรับคำนวณความน่าจะเป็น
แต่ทั้งหมดนี้จะมีปัญหาอยู่อย่างนึง ตรงที่ทุกอย่างเป็นคณิตศาสตร์บนจำนวนเต็มหมดเลย นั่นคือเราไม่สามารถหาอะไรอย่าง $0.5!$ ได้
ถ้าดูจากที่มาและการใช้งานของมัน (ส่วนมากเป็นเรื่องความน่าจะเป็นนั่นแหละ) ก็อาจนับว่าไม่มีปัญหา แต่สำหรับนักคณิตศาสตร์บริสุทธิ์แล้ว มันก็น่าจะมีอะไรซักอย่างมาตอบคำถามตรงนี้ได้นะ
โชคดี (?) ที่เรามีเลขมหัศจรรย์อย่าง $e$ ซึ่งมีสมบัติประหลาดว่า
\[e^x = \frac{d}{dx} e^x\]ดูๆ ไปแล้ว มันก็คล้ายกับคอมบิเนเตอร์จุดตรึงที่เคยพูดไว้ในตอนก่อนๆ เพียงแต่เปลี่ยนจากการเรียกฟังก์ชันเป็นการหาอนุพันธ์-ปริพันธ์แทน โดยมีจุดสิ้นสุดการเรียกตัวเองที่
\[\begin{align} \int_0^\infty \frac{1}{e^x} \;dx &= - \frac{1}{e^\infty} + \frac{1}{e^0} \\ &= 1 \end{align}\]นี่ทำให้เราสามารถเขียนการเรียกตัวเองในรูปของการปริพันธ์ได้ เช่น
\[\Gamma(n) = \int_0^\infty \frac{1}{e^t} t^{n-1} \;dt\]ลองดูสมบัติของมันโดยทำการปริพันธ์เข้าไป จะได้ว่า
\[\begin{align} \Gamma(n) &= \int_0^\infty \frac{1}{e^t} t^{n-1} \;dt \\ &= \int_0^\infty u \;dv & \text{let}\; u = \frac{1}{e^t}, dv = t^{n-1} \;dt \\ &= \left[ uv \right]_0^\infty - \int_0^\infty v \;du \\ &= \frac{1}{n} \left( \lim_{t \to \infty} \frac{1}{e^t} t^n - \frac{1}{e^0} 0^n \right) - \int_0^\infty v \;du \\ &= 0 - \int_0^\infty v du \\ &= \frac{1}{n} \int_0^\infty \frac{1}{e^t} t^n \;dt \\ &= \frac{\Gamma(n+1)}{n} \end{align}\]ดังนั้น จะเห็นว่า
\[\begin{align} \Gamma(1) &= 1 \\ \Gamma(n) &= (n-1) \Gamma(n-1) \\ &= (n-1)(n-2) \Gamma(n-2) \\ &= \cdots \end{align}\]ซึ่งก็คือ
\[n! = \Gamma(n+1)\]ถึงตอนนี้ก็คงตอบคำถามได้แล้วว่า $0.5!$ นั้น สามารถหาค่าได้จาก
\[\begin{align} \Gamma(1.5) &= \frac{1}{2} \Gamma\left(\frac{1}{2}\right) \\ \Gamma(0.5) &= \int_0^\infty \frac{1}{e^t} \frac{1}{\sqrt t} \;dt \\ &= 2 \int_0^\infty \frac{1}{ e^{u^2} } \;du & \text{let}\; du = \frac{1}{\sqrt t} \\ &= \int_{-\infty}^\infty \frac{1}{ e^{u^2} } \;du \\ &= \sqrt\pi \\ \Gamma(1.5) &= \frac{\sqrt\pi}{2} \end{align}\]ตอนพยายามหาค่าของ $\Gamma(0.5)$ ต้องใช้ความรู้เรื่องการหาปริพันธ์สองชั้นและการแปลงระนาบเข้าช่วย ถ้ายังมีพลังลุยต่อวิดีโอนี้น่าจะช่วยอธิบายเพิ่มได้
ข้อดีของการเขียนในรูปปริพันธ์นี่มีอีกอย่าง คือถ้ารู้สึกว่าพิสูจน์ห่าค่าตรงๆ แบบนี้มันยากไป จะเลี่ยงไปใช้ปริพันธ์แบบรีมันน์เพื่อประมาณค่าแทนก็ย่อมได้ครับ
author