ทำ Debian Package ขึ้น Launchpad PPA
การทำ software package นั้นก็เปรียบเสมือนพ่อค้าคนกลาง หลักการทั่วๆ ไปคือ
- สืบเสาะว่าในตลาด (package source) ตอนนี้ สินค้าชนิดไหนที่ลูกค้า (user) ต้องการแต่ยังไม่มี (หรือมีแต่ก็ยังไม่ดีพอ)
- ตระเวณหาผู้ผลิตสินค้า (upstream) ชนิดนั้นๆ เจรจาต่อรองราคาซื้อสินค้า (app) มาตุนไว้
- ปรับแต่งสินค้า (config) ให้เหมาะกับลูกค้า แล้วบรรจุหีบห่อ (packaging) ส่งขายหน้าร้านของตัวเอง (PPA)
หน้าที่ของคนออก software package จึงไม่ใช่การเขียน code สำหรับ software ตัวนั้นๆ ซักเท่าไหร่ แต่เป็นการ config และทดสอบ dependency ให้ทำงานได้บนระบบนั้นซะมากกว่า
อย่างไรก็ตาม บางครั้ง software ที่ต้องการทำ package ก็ไม่มี upstream เพราะอาจจะผูกติดกับ platform นั้นๆ (native package) อย่างเช่น theme หรือโปรแกรมเฉพาะสำหรับ platform
บังเอิญว่าอยากทำ theme package พอดี แต่ tutorial ที่เจอดันสอนแต่แบบที่ต้องพึ่ง upstream (และเน้นหนักด้าน config) แถมยังเอา bzr มาปนซะเยอะ (แน่นอนว่าผมพยายามใช้แต่ git ถ้าเป็นไปได้) สุดท้ายเลยไล่โหลด code ชาวบ้านมาดูถึงทำเป็น
วิธีการทำ native package สำหรับ Debian โดยคร่าวๆ ก็คือ
mkdir proj-package/proj-0.9.0
cd proj-package/proj-0.9.0
dh_make --native
หมายเหตุว่าตอนนี้จำเป็นที่จะต้องห้อยเลข version ไว้ที่ชื่อ directory ด้วย ส่วน proj-package
จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่พอเราทำ package แล้วไฟล์ต่างๆ จะมาอยู่ทำระดับเดียวกันกับ proj-0.9.0
ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ไฟล์อื่นๆ ปนกันมั่วก็สร้างไว้ด้วย
พอสั่งคำสั่งสุดท้ายเสร็จก็ตอบคำถามอีก 1-2 ข้อ จะมี directory ชื่อ debian
โผล่มา ถึงตอนนี้ถ้าอยากแก้ proj-0.9.0
เอา version ออกให้เหลือแค่ proj
หรือกระทั่งเปลี่ยนเป็นชื่อใดๆ ก็ทำได้เลย
เรียบร้อยแล้วเข้าไปแก้ไฟล์ต่างๆ ใน debian
ดังนี้
- ลบทุกไฟล์ที่ลงท้ายด้วย
.ex
,.EX
- ลบไฟล์ที่เกี่ยวกับ
README
และ directorysource
- แก้ไฟล์
copyright
เพิ่มชื่อเจ้าของผลงานการทำ package ลงไป - แก้ไฟล์
control
เพิ่มรายละเอียด อันนี้ยากหน่อย แนะนำให้ดูตัวอย่าง package ที่คล้ายๆ กันแล้วลอกมา
แก้เสร็จแล้วลอง build package ดู โดยกลับไปอยู่ที่ระดับเดียวกับ directory debian
แล้วสั่ง
debuild -us -uc
จะได้ไฟล์ proj_0.9.0.deb
(Debian installer ที่สามารถ double click เพื่อติดตั้งได้) ที่ระดับ directory proj-0.9.0
(กลับออกไป 1 ระดับ)
แต่ว่า package ตอนนี้มันยังเป็น package เปล่าๆ ไม่มีอะไร ถ้าต้องการระบุว่า package นี้จะติดตั้งไฟล์ไปที่ใดบ้าง ก็เอาไฟล์นั้นๆ ไปไว้ในระดับเดียวกันกับ debian
เช่น
proj-0.9.0
├── bin
│ ├── goodbye.sh # install => /usr/bin/goodbye.sh
│ └── hello.sh # install => /usr/bin/hello.sh
├── conf
│ └── greeting.conf # install => /etc/greeting.conf
└── debian
แล้วก็เขียนไฟล์ debian/install
เช่นนี้
bin/* /usr/bin/
conf/* /etc/
หมายเหตุว่าไฟล์พวกนี้จะไปทับไฟล์ของ package อื่นๆ ไม่ได้ (ต้องเพิ่ม Conflict/Replace ใน debian/control
– จะยังไม่พูดถึงตอนนี้) อันที่จริง มันไม่ควรจะไปทับไฟล์ใดเลย เพราะตอน remove ไฟล์พวกนี้จะหายไปอัตโนมัติ ไม่ใช่ revert กลับไปเป็นของเดิม
ส่วน action ต่างๆ ที่จะทำตอนก่อนหรือหลังการ install / remove (เช่น install เสร็จแล้วก็ auto config เล็กน้อย) ก็เขียนเป็น shell script ใส่ preinst
, postinst
, prerm
, postrm
ไว้ใน directory debian
นั่นแหละ
เมื่อ test build ที่เครื่อง local จนมั่นใจแล้ว ก็แก้ไฟล์ debian/changelog
เปลี่ยน unstable
เป็น codename ของระบบที่ใช้อยู่ (ดูได้ที่ /etc/lsb-release
) และแก้ข้อมูลอื่นๆ ตามสมควร
เรียบร้อยแล้วกลับมาอยู่ที่ระดับเดียวกับ proj-0.9.0
แล้วสั่ง
>tar -zcvf proj_0.9.0.orig.tar.gz proj-0.9.0/
cd proj-0.9.0
debuild -S -k$PGPKey
cd ..
dput ppa:user/repo proj_0.9.0_source.changes
เพื่ออัพ package นี้ขึ้น PPA ที่ Launcpad ต่อไป (รอมัน build ประมาณครึ่งชั่วโมง)
ทีนี้ ถ้าเพื่อนเราที่ใช้ Debian/Ubuntu รุ่นที่เรา build package ตัวนี้ไว้ อยากจะ install package นี้ ก็บอกเพื่อนว่าทำแค่
add-apt-repository ppa:user/repo
apt-get update
apt-get install proj
เท่ปะล่า :P
author